http://www.108engineering.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าหลัก

 สินค้า / บริการ

 การสั่งซื้อสินค้า

 แจ้งการจัดส่ง EMS.

 ผลงานชุดฝึก

 แจ้งการชำระเงิน

 เกี่ยวกับเรา

 ติดต่อเรา

ตะกร้าสินค้า

จำนวนสินค้า : 0 รายการ
ราคา :0 ฿

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก

จดหมายข่าว

อีเมล์

สถิติ

เปิดเว็บ25/07/2011
อัพเดท14/02/2024
ผู้เข้าชม10,867,354
เปิดเพจ14,109,862
สินค้าทั้งหมด155

สินค้า

สินค้ามาใหม่
สินค้าขายดี
สินค้าโปรโมชั่น
 แผ่นสอนใช้โปรแกรม
 ชิ้นส่วนเครื่องกล
 อุปกรณ์ ระบบลม
 เครื่องชั่ง
 ชุดฝึก คอร์สฝึกอบรม PLC
 Arduino For Industry
 สมาร์ทฟาร์ม
 ชุดฝึก PLC Education
 อุปกรณ์ควบคุม
 เซนเซอร์
 แมคคานิค กลไก
 ไฮเทค แปลกใหม่
 เครื่องมือช่าง
 อุปกรณ์ ตู้ควบคุม













การแข่งขัน ABU Robot 2014 กับ PLC

การแข่งขัน ABU Robot 2014 กับ PLC

           ยินดีกับน้อง ๆ ที่ได้เข้ารอบ 32 ทีม ในการแข่งขับ ABU Robot 2014 ด้วยนะครับ ส่วนทีมที่ไม่ได้เข้ารอบก็ไม่ต้องเสียใจไปครับ ความรู้มิตรภาพ และบรรยกาศที่ได้รับในระหว่างทางนั้น เป็นประสบการณ์ที่ดี และหวนย้อนกับมาคิดถึงอีกทีในอนาคต ก็ยังคงเป็นความทรงจำที่ดี อยู่ครับ   ดูทีที่เข้ารอบ http://www.tpa.or.th/robot/files/2014/ABU322557.pdf

ห่างหายจากวงการหุ่นยนต์ในด้านการศึกษามานาน วันนี้มีโอกาสได้ไปดูการแข่งขัน เลยเก็บภาพมาฝากครับ

                                  

                                  

          ส่วนเทคโนโลยีการควบคุม ส่วนใหญ่ทุกทีม จะใช้ลม หรือระบบนิวแมติกส์ Pneumatic  ซึ่งเป็น กระบอกลมและชุดควบคุมลมที่ใช้งานในอุตสาหกรรมจริง ๆ จากสมัยก่อน ที่ไม่มี Air Supply ก็เริ่ม ใช้ถังพักลม โดยน้อง ๆ ได้นำขวดน้ำ มาต่อ กัน เพื่อทำให้ลมที่พักไว้ มีแรงดันเหลือพอที่จะแข่งขันจนจบ นับว่าเป็น ไอเดียร์ที่ดีมาก ๆ ครับ (สมัยผม คิดไม่ได้ครับ) ในระบบลม แน่นอนครับ การเคลื่อนที่จะเป็นแบบ เข้าสุด และ ออกสุด ก็คือ 2 ตำแหน่งครับ ส่วนการเคลื่อนที่ แบบที่ต้องการใช้ควบคุม หลาย ๆ ตำแหน่ง ก็ยังคงใช้ DC Motor กันส่วนใหญ่ครับ ซึ่งก็ใช้เฟืองทดเพื่อเพิ่มกำลัง และเปลี่ยนแนวแรง เป็นแนวตรงด้วย โซ่ หรือ เฟืองสะพาน ส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นลัษณะแบบการเคลื่อนที่แนวตรง Prismatic แต่ผมสังเกตุ เห็น มีบางทีมที่ใช้แบบ Joint หรือ การเคลื่อนที่แบบหมุน Revolute ครับทำให้ได้เปรียบ เสียเปรียบต่างกันไป

          ส่วนระบบควบคุม แน่นอน โดยส่วนใหญ่ก็ใช้ Microcontroller และ ชุดขับ หรือ Driver เป็นวงจร Relay หรือ Transistor เพื่อขยายสัญญาณจาก MCU 5V. ไปขับอุปกรณ์ เอาต์พุตที่ใช้ไฟ 24V. ส่วนใหญ่ เช่น DC Motor หรือ Solenoide Valve เพื่อขับระบบลม  และสิ่งที่ผม สังเกตุเห็น บางทีม มีการใช้งาน PLC ในการควบคุมหุ่นยนต์กันแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีครับ ผมคิดว่า ง่ายดีกับการควบคุมอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะเป็นมาตรฐานทางอุตสาหกรรม เช่น Pneumatic และบางที ใช้วงจร Relay ทั้งหมด ในการควบคุมหุ่นย์แบบ Manual ซึ่งก็นับว่า มีการใช้งานเทคโนโลยีที่เข้าใกล้กับงานอุตสาหกรรม กันมากขึ้นด้วยครับ อีกส่วนที่สังเกตุเห็น มีทีมที่ใช้งาน ตัว Servo Motor  สำหรับงานควบคุมตำแหน่งด้วย ซึ่งก็เป็นอะไรที่ดีสำหรับความรู้ที่ได้เริ่มต้นศึกษา ออกมาทางอุตสาหกรรมมากขึ้นครับ

           และส่วนขับเคลื่อนที่สำคัญอีกตัว คือ ล้อแบบ Omni Wheel และล้อแบบ Mecanum Wheel ที่สามารถเคลื่อนที่ในแนวหมุน และแนวข้างได้ ขึ้นอยู่กับการจัดวาง ซึ่งเกือบทุกทีมที่เข้าแข่งขัน จะใช้ล้อ Omni กันทั้งนั้น เนื่องด้วยการเคลื่อนที่ ที่สามารถควบคุมตำแหน่งได้ง่าย ปรับตำแหน่งได้ง่าย และรวดเร็ว (สมัยก่อนอยากใช้แต่ไม่มีใช้อาาา)

           มาถึงการแข่งขัน โดยส่วนใหญ่ อาศัยการควบคุมด้วยมือ  การฝึกซ้อมเป็นหลัก  ซ้อมเยอะทำได้เร็ว แต่ปัญหาหลัก ๆ เท่าที่ดูคือ การเข้าไปยังตำแหน่งของหุ่นที่ต้องการความชำนาญ และ ตำแหน่งที่ค่อนข้างที่จะต้องตรงตำแหน่งมาก ๆ  ทำให้ การทำงานช้า เพราะ ต้องเล็งอย่างตั้งใจ ในทางอุตสาหกรรม ถือเป็นการเคลื่อนที่ ที่ไม่ก่อให้เกิดงาน จะได้ออกแบบ จิก ฟิกเจอร์ หรือ อุปกรณ์จับยึด ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการทำงาน มี ไกด์นำร่องในการวาง มีระบบช่วย ให้เข้าตำแหน่ง ทำให้คนทำงาน ทำงานได้ง่าย และเร็วขึ้น มีความผิดพลาด น้อยลง ฝากเทคนิค นี้ให้น้อง ๆ ลองไปคิดและปรับปรุง หุ่นยนต์ทีมของตัวเองกันครับ  และอีกเทคนิคที่อยากจะฝากไว้นะครับ คือ หุ่นยนต์ แบบบังคับด้วยมือ เราอาจทำเป็นลักษณะ ของ Semi Auto  หรือ กึ่งอัตโนมัติ ได้ในบางจุด เช่น ในขณะที่เราควบคุมตำแหน่งการยก หรือ การเคลื่อนที่ของแขน หรือ มือจับ แบบ Auto และใช้การบังคับ การเคลื่อนที่ของล้อหุ่นยนต์ แบบ Manual ไปพร้อม ๆ กัน จะทำให้ ได้เวลาเพิ่มขึ้นมาเพื่อทำคะแนนได้อีกครับ 

          ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณผู้ใหญ่ที่ให้การสนับสนุน จัดกิจกรรม เพื่อน้อง ๆ ได้มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม งานโปรเจค ขอบคุณไว้ ณ. ที่ด้วยครับ 

Tags : การแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robot PLC DC Motor Omin Servo Motor

view
view